วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แองไคล์

แอลไคน์ (Alkynes)
 
                          แอลไคน์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัวประเภทที่มีพันธะสามอยู่ในโมเลกุลมีสูตรโมเลกุลทั่ว ๆ ไปเป็น CnH2n-2 สารประกอบตัวแรกของแอลไคน์ คือ อะเซทิลีน(C2H2) สารตัวนี้จัดเป็นสารประกอบที่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมมากที่สุดชนิดหนึ่ง ใช้ทำเชื้อเพลิง ใช้สำหรับเชื่อมโลหะโดยผสมกับออกซิเจน ใช้เตรียมสารอินทรีย์ที่ใช้ทำพลาสติกและยางเทียม
 สูตรโครงสร้างของอะเซทิลีน คือ HC º CH
                    การเรียกชื่อสารประกอบแอลไคน์ จะเป็นไปตามระบบ IUPAC คือ เปลี่ยนคำลงท้ายเป็น ไอน์ (-yne)
                                C2H2       =             Ethyne,                  C3H4       =             Propyne,
                                C4H6       =             Butyne,                  C5H8       =             Pentyne,
                                C6H10      =             Hextyne,               C7H12      =             Heptyne,
                                C8H14      =             Octyne,                  C9H16      =             Nontyne,
                                C10H18    =             Decyne 
                    คุณสมบัติทางกายภาพและประโยชน์ของสารแอลไคลน์
1.       เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ไม่อิ่มตัว เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้ว
2.       แอลไคน์ที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน C2 – C4 จะเป็นแก๊ส และเมื่อมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมากขึ้นจะเป็นของเหลว (C5 – C17) และของแข็ง (C18 ขึ้นไป) ตามลำดับ
3.       แอลไคน์เป็นสารที่ไม่มีสี
4.       เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ แต่เป็นแก๊สมีกลิ่นและจะมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากมีสารพวกฟอสจีน หรือไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) ผสมอยู่
5.       ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
6.       แอลไคน์มีพันธะสามในโมเลกุลจึงทำให้มีเสถียรภาพต่ำกว่าแอลคีน และเกิดปฏิกิริยารวมตัวได้ดี
7.       แอลไคน์มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นที่สูงขึ้นตามจำนวนอะตอมของคาร์บอน
                คุณสมบัติทางเคมีของสารแอลไคน์
1.       เกิดปฏิกิริยารวมตัวได้เหมือนกับแอลคีน ซึ่งเกิดขึ้นได้ดีกว่าแอลคีนถึงสองเท่า
C2H2 + 2Ag              AgC CAg + 2H+
                2.      แอลไคน์ทำปฏิกิริยากับโลหะจะได้แก๊ส H2 ดังสมการ
<![endif]>3.    แอลไคน์เกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ มีเขม่า และควันมาก   
             C7H12 + 1002         7CO2 + 6H2O

Aromatic

สมบัติของอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

จากโครงสร้างของสารประกอบอะโรมาติก จะเห็นว่ามีพันธะคู่อยู่หลายแห่ง แต่จากการศึกษาสมบัติทางเคมีพบว่าพันธะคู่ในอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเสถียรมาก จึงไม่เกิดปฏิกิริยาที่พันธะคู่ เช่น ไม่ฟอกจางสีของ KMnO4 ไม่เกิดปฏิกิริยาการเติมกับ H2 หรือ Br2 ภายใต้สภาวะเดียวกับแอลคีน ปฏิกิริยาส่วนใหญ่คล้ายแอลเคนคือเกิดปฏิกิริยาแทนที่ (Substitution reaction) ซึ่งพอสรุปได้ว่าอะโรมาติกไซโรคาร์บอนมีโครงสร้างคล้ายแอลคีน แต่เกิดปฏิกิริยาคล้ายแอลเคน จึงแยกออกมาเป็นกลุ่มต่างหาก

สมบัติทางกายภาพ

เป็นของเหลวใสไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน ๆ มีความหนาแน่นน้อยกว่า ไม่ละลายน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว

สมบัติทางเคมี

1. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนติดไฟให้เขม่าและควันมาก ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำดังสมการ

2 C6H6(l)   +   15 O2(g)      12 CO2(g)   +   6 H2O(g)


2. ปฏิกิริยาแทนที่
1) ปฏิกิริยาแทนที่ด้วยเฮโลเจน (Halogenation) เบนซีนจะทำปฏิกิริยากับ Cl2 หรือ Br2 โดยมีผงเหล็กหรือ FeCl3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดปฏิกิริยาแทนที่ได้แก๊สไฮโดรเจนเฮไลด์ เช่น



+

Cl2

 


+

HCl
benzene



Chloro benzene

Hydrogen chloride




+

Br2

 


+

HBr
benzene



Bromo benzene

Hydrogen bromide


2) ปฏิกิริยาซัลโฟเนชัน (Sulfonation) ทำปฏิกิริยากับ H2SO4 เข้มข้น



+

HNO3 / H2SO4

 

benzene



Sulfonic acid

3. ปฏิกิริยา Nitration
เบนซีนเกิดปฏิกิริยากับกรดไนตริก HNO3  โดยมีกรดซัลฟิวริก H2SO4 เข้มข้น เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ไนโตรเบนซีน